วันจันทร์ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผังงาน (Flowchart)


การเขียนผังงาน ( Flowchart )

ผังงาน คือ แผนภาพที่มีการใช้สัญลักษณ์รูปภาพและลูกศรที่แสดงถึงขั้นตอนการทำงานของ โปรแกรมหรือระบบทีละขั้นตอน รวมไปถึงทิศทางการไหลของข้อมูลตั้งแต่แรกจนได้ผลลัพธ์ตามที่ต้องการ

ประโยชน์ของผังงาน
ช่วยลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม และสามารถนำไปเขียนโปรแกรมได้โดยไม่สับสน
ช่วยในการตรวจสอบ และแก้ไขโปรแกรมได้ง่าย เมื่อเกิดข้อผิดพลาด
ช่วยให้การดัดแปลง แก้ไข ทำได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
ช่วยให้ผู้อื่นสามารถศึกษาการทำงานของโปรแกรมได้อย่างง่าย และรวดเร็วมากขึ้น


สัญลักษณ์ของผังงาน


โครงสร้างของผังงาน
 1. แบบตามลำดับ (Sequence structure) รูปแบบคือ การทำงานแต่ละคำสั่งจากคำสั่งหนึ่งไปยังอีกคำสั่งหนึ่งตามลำดับ


2.แบบทางเลือก (Selection structure)
รูปแบบคือ เลือกทำตามคำสั่งตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบ คือ
1) IF THEN
2) If THEN ELSE

รูปแบบ 1) IF THEN


รูปแบบ 2) IF THEN ELSE


3. แบบวนรอบ (Loop structure)
รูปแบบ การทำคำสั่งเดิมซ้ำการหลายรอบตามเงื่อนไขที่กำหนด มี 2 แบบคือ
1) แบบ DOWHILE หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันในขณะที่เงื่อนไขเป็นจริง
2) แบบ DOUNTIL หมายถึง ทำคำสั่งซ้ำ ๆ กันจนกระทั่งเงื่อนไขเป็นจริง

1)  แบบ DOWHILE เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นจริง จนกว่าเงื่อนไขจะเป็นเท็จ จึงจะหยุด     
       ทำงานและออกไปทำคำสั่งต่อไป

2)  แบบ DOUNTIL เป็นการทำงานซ้ำ ๆ กันภายใต้เงื่อนไขที่เป็นเท็จ จนกว่าเงื่อนไขที่กำหนดไว้จะเป็นจริ
         จึงจะหยุดและออกไปทำคำสั่งอื่นต่อไป

4.แบบ Case (Case structure) รูปแบบ ทางเลือกหลายทาง การใช้โครงสร้างแบบ CASE ในการเขียนผังงาน จะทำให้ดูง่ายกว่าการใช้แบบ Selection Structure




ตัวอย่าง เขียนผังงานแสดงวิธีการรับประทานยา ที่แบ่งขนาดรับประทานตามอายุของผู้ทานดังนี้

อายุมากกว่า 10 ปี รับประทานครั้งละ 2 ช้อนชา
อายุมากกว่า 3 ปี ถึง 10 ปี รับประทานครั้งละ 1 ช้อนชา
อายุมากกว่า 1 ปี ถึง 3 ปี รับประทานครั้งละ 1/2 ช้อนชา
แรกเกิดถึง 1 ปี ห้ามรับประทาน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น